FAQ

ขั้นตอนที่ 3 : การจัดทำโมเดลธุรกิจ

1. การนำเสนอผลงานออกบูธงานในวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 สอบถาม Model ขนาด 2x2 เมตร หรือ 1.5x3 เมตร เมื่องานเสร็จสิ้น Model จะเป็นของโครงการหรือของสถาบันฯ
Model เป็นงานที่ต้องนำส่งตามขั้นตอนและเงื่อนไขการสนับสนุน จะเป็นของ กองทุนฯ
2. Perspective ขนาด A1
ต้องใช้กี่แผ่น
ทำแนวตั้งหรือแนวนอน
ต้องวางบนโฟมบอร์ด หรือ ฟิวเจอร์บอร์ดหรือไม่
ไม่น้อยกว่า 10 แผ่น เป็นแนวตั้งหรือ แนวนอน ได้ตามความเหมาะสม ติดบนฟิวเจอร์บอร์ด หรือ อุปกรณ์รีไซเคิลอื่น ๆ โดย การจัดเตรียมภาพ Perspective ทั้งหมด ให้คำนึงถึงการติดตั้งเพื่อจัดแสดงในงานวันที่ 26 กค ด้วย
3. การออกบูธ ทางมหาวิทยาลัยสามารถกำหนดแลละจัดตำแหน่ง Model, Perspective ขนาด A1 เอง (ภายในบูธของตนได้เองหรือไม่)
สามารถกำหนดและจัดตำแหน่งได้ตามความเหมาะสม โดยให้ส่งแบบให้ สถาบันฯ พิจารณา ก่อนดำเนินการ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2560
4. ผนังของบูธด้านที่เป็นเส้นทึบเป็นผนังปิดใช่หรือไม่คะ และเป็นวัสดุอะไร
เป็นพื้นที่เปิดโล่ง ผนัง ที่ตั้ง MODEL ทางโครงการเป็นผู้ดำเนินการเอง
5. ผนังด้านที่ติดกับบูธอื่น เป็นวัสดุอะไร
เป็นพื้นที่เปิดโล่ง หากต้องการผนัง ทางโครงการเป็นผู้ดำเนินการเอง
6. สามารถทำทางเข้า-ออกบูธได้ 2 ด้านหรือไม่ (ด้านที่ไม่ใช่เส้นทึบและด้านที่ไม่ได้ติดกับบูธอื่น)
บูธหัวมุม สามารถเข้าออกได้ 2 ด้าน
7. ทำโมเดลขนาด 2 x 1.2 เมตร ได้หรือไม่
ขนาดไม่น้อยกว่า 4 ตร.ม.
8. โมเดลสามารถใช้เทคนิค holograph เข้ามาช่วยได้หรือไม่
ได้คะ

ขั้นตอนที่ 2 : การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
คำถามเพิ่มเติมเรื่องอาคารที่มีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building)
1.การคำนวณพื้นที่อาคารที่มีขนาดพื้นที่ 10,000 ตร.ม. หรือ สูง 23 ม. ขึ้นไป ให้คำนวณพื้นที่โดยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 20 นั้นกับพื้นที่อาคารทั้งหมดของเมือง (อาคารทุกขนาดมีพื้นที่รวมกัน) หรือจะเปรียบเทียบเฉพาะพื้นที่รวมของอาคารที่มีขนาด 10,000 ตร.ม. หรือสูง 23 ม.ขึ้นไปเท่านั้น
คิดเทียบกับพื้นที่อาคารทั้งหมดของเมือง
2. ตารางคำนวณ BAU และตารางคำนวณประชากร ต้องดาวน์โหลดแบบฟอร์มใหม่หรือไม่
ต้องนำส่งใหม่เพื่อยืนยันว่า ค่าต่าง ๆ ยังคงเป็นตามเดิมหรือไม่ ถ้าเป็นตามเดิมนำส่งตารางเดิมได้ไม่ต้องดาวน์โหลดใหม่
สอบถามเงื่อนไขการเขียนแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริย
การออกแบบอาคารที่มีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building) ให้มีอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยอย่างน้อยร้อยละ 20 ของพื้นทึ่อาคารภายในเมืองที่มีการออกแบบอาคารตามแนวคิดอาคารที่มีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์
1. กรณีดังกล่าวสามารถออกแบบในกรณีใดได้บ้าง 
1) อาคารหลังเดียวที่มีพื้นที่ใช้สอยคิดเป็นร้อยละ 20 ของพื้นที่อาคารภายในเมืองทั้งหมด หรือ
2) อาคารหลายหลังที่คิดพื้นที่ใช้สอยรวมกันเป็นร้อยละ 20 ของพื้นที่อาคารภายในเมืองทั้งหมด
ได้ทั้งสองกรณี จะเป็นหลังเดียวซึ่งมีพื้นที่ได้ร้อยละ 20 ของพื้นที่อาคารภายในเมืองทั้งหมด หรือ หลายหลังรวมกันก็ได้
2. ตามแบบ A3 หัวข้อระบบสาธารณูปโภค หมายถึงอะไรบ้างและมีข้อแตกต่างจากเรื่องหัวข้อประปา ระบายน้ำ ไฟฟ้า เป็นต้น แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
ให้ส่งเป็นแบบขนาด A2 โดยระบบสาธารณูปโภค หมายถึอง ระบบที่จำเป็นสำหรับเมือง เช่น ประปา ระบายน้ำ ไฟฟ้า บำบัดน้ำเสีย ฯลฯ โดยแบบเดียวกันสามารถใช้อ้างอิงในหลายหมวดได้
3. สำหรับแบบ A3 และ A2 บังคับ Font และแนวในการทำเช่น แนวตั้ง/แนวนอน หรือไม่ อย่างไร
แบบ A2 ไม่ได้บังคับ Font และสามารถเป็นได้ทั้ง แนวตั้งและแนวนอน โดยคำนึงถึงการแสดงข้อมูลให้สามารถอ่าน และ วิเคราะห์ได้อย่างสะดวกและชัดเจนเป็นหลัก
4. เนื่องด้วยรายละเอียดงานที่ต้องส่งในขั้นตอนที่ 2 มีความซับซ้อนมากกว่าขั้นตอนที่ 1 หลายจุด จึงทำให้ทีมงานเกิดความไม่ชัดเจนในการนำเสนอข้อมูลในหมวดที่ 2 หัวข้อ 1 1.1 (2) แผนผังโครงการ การจัดวางอาคารจึงอยากเรียนถามมา ดังนี้
1) แผนผังโครงการ ข้อมูลบางส่วนมีความซ้ำซ้อนกับข้อมูลในหมวดอื่นๆ อยู่บ้าง คณะกรรมการต้องการให้นำเสนอข้อมูลเดียวกันในหลายๆ แง่มุมใช่หรือไม่
2) เนื่องจากเมืองที่ส่งเข้าประกวดเป็นเมืองขนาดใหญ่ มีจำนวนอาคารมากกว่า 100 หลัง การนำเสนอรายละเอียดเส้นทางสัญจร โครงข่ายระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ภายในอาคารเชื่อมต่อระหว่างอาคารและไปที่ภายนอกอาคาร รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างการให้บริการภายในพื้นที่โครงการ กับบริเวณพื้นที่โดยรอบ และในภาพรวมของเมือง
ไม่แน่ใจทางคณะกรรมการต้องการให้นำเสนออย่างไร? หากทีมงานเลือกบางพื้นที่มาอธิบายอย่างละเอียดจะเป็นไปได้หรือไม่ และมีผลต่อคะแนนหรือไม่อย่างไร เนื่องจากเป็นไปได้ยากที่จะนำเสนอทุกอาคาร
1. การให้คำอธิบายต่อแผนผังโครงการของผู้เสนอ ควรเป็นการชี้แจงถึงประเด็นสาระสำคัญของแผนผังโครงการนั้น ๆ ในแต่ละหมวด ประเด็นสาระสำคัญของหมวดที่ 2 ข้อ 1.1.1(2) เป็นประเด็นเกี่ยวกับการวางผังเมืองหรือความสอดคล้องเชื่อมโยงกับผังเมือง และการวางผังบริเวณ (Site Planning) ของพื้นที่โครงการที่จะก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาเป็น Smart City

2. ผู้เสนอควรพิจารณาถึงความเหมาะสมในการเสนอรายละเอียดของโครงการ ซึ่งในกรณีที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกับบริเวณพื้นที่โดยรอบ และมีอาคารภายในพื้นที่โครงการเป็นจำนวนมาก ผู้เสนอจะอธิบายถึงการเชื่อมต่อกับบริเวณพื้นที่โดยรอบ และ/หรือการเชื่อมโยงระหว่างอาคารภายในพื้นที่โครงการและ/หรือการดำเนินการเฉพาะอาคารหรือกลุ่มอาคารภายในพื้นที่โครงการได้ตามเหตุผลความจำเป็นของการพัฒนาเป็น Smart City


3. ผู้เสนออาจแสดงให้เห็นในประเด็นการสัญจรส่วนต่างๆ และโครงข่ายสาธารณูปโภค สาธารณูปการ โดยสำหรับรายะละเอียดในอาคารที่มีจำนวนมาก สามารถแสดงเป็น Typical Flow หรือ Drawing ซึ่งเป็นตัวแทนของเส้นทาง หรือการเชื่อมต่อระบบต่างๆ ในพื้นที่อาคารต่างๆ ในระดับที่พอให้คณะกรรมการเห็นภาพและเชื่อได้ว่าจะนำไปสู่การพัฒนาได้จริง ไม่จำเป็นต้องแสดงทุกพื้นที่ในทุกอาคาร


5. เนื่องจากหัวข้อการประกวดแบบ Smart Energy มีการคำนวน BAU แต่ไม่มีช่องตารางด้านการใช้งานประเภทที่จอดรถ ซึ่งใช้จำนวนไฟน้อยกว่าการใช้งานประเภทอื่นเป็นอย่างมาก จึงขอเรียนปรึกษาดังนี้
1. เราสามารถแก้ไขตารางเองเพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์ประเภทที่จอดรถได้หรือไม่
2. หรือสามารถรวมพื้นที่จอดรถกับพื้นที่ Public area ซึ่งมีสัดส่วนการใช้ปริมาณไฟฟ้าใกล้เคียงกัน แต่หากทำเช่นนี้ แม้จะทำให้ภาพรวมของการใช้ไฟฟ้าใกล้เคียงความถูกต้อง แต่พื้นที่ก่อสร้างอาคารจะไม่ถูกต้องเนื่องจาก Public space ไม่ถูกคิดเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ก่อสร้างอาคาร
ให้ใช้ตารางที่สถาบันฯ จัดเตรียมไว้ให้ โดยกรอบพื้นที่จอดรถรวมในหมวด Public Area ครับ และให้หมายเหตุ แสดงปริมาณพื้นที่จอดรถและพื้นที่สาธารณะทั่วไป ไว้ท้ายตาราง
6. รบกวนสอบถามรายละเอียดข้อมูลเอกสาร "แบบแสดงโครงการที่นำเสนอ"
หมวดที่ 1 พลังงานอัจฉริยะ ในส่วนของรายละเอียดเอกสารขนาด A2
ข้อที่ 2 แบบผังงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล
รบกวนอธิบายรายละเอียดให้หน่อยนะคะว่า เอกสารในส่วนนี้หมายถึงอะไร และมีรายละเอียดอะไรบ้าง
ในหมวดพลังงานอัจฉริยะ จะครอบคลุม ด้านการผลิตพลังงาน, การส่งจ่ายพลังงาน และการควบคุมการใช้พลังงาน ในแต่ละด้าน จะต้องมีการออกแบบระบบไฟฟ้าและเครื่องกลที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีระบบ District Cooling ถ้าต้องการทำคะแนนข้อนี้ ต้องแสดงแผนภูมิของระบบที่จะใช้ในเมือง ทั้งแผนผังระบบไฟฟ้า และ เครื่องกล ของ ระบบ District Cooling ในด้านอื่น ๆ เช่นเดียวกันถ้าต้องการทำคะแนนในด้านใด ให้แสดงแผนผังงานระบบของด้านนั้น ๆ ให้ชัดเจน

SMART CITY FAQ

1. โครงการเมืองอัจฉริยะต้องเป็นโครงการใหม่เท่านั้นหรือไม่?
ทั้งโครงการที่สร้างแล้ว กำลังก่อสร้าง กำลังวางแนวคิด หรือกำลังออกแบบ ก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้
2. ผู้เข้าร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดครบทุกข้อหรือไม่?
ผู้เข้าร่วมโครงการ เพียงมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งในเรื่องจำนวนประชากร พื้นที่ใช้สอย หรือ ขนาดกำลังไฟฟ้า ก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้
3. โครงการเมืองอุตสาหกรรมการผลิตสามารถเข้าเกณฑ์ได้หรือไม่?
สามารถเข้าร่วมโครงการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิคมอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเป็น Eco-industrial estate ก็มีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับ Smart city หรือ Smart industrial estate นั่นเอง ส่วนโรงงาน (factory) ก็อาจเข้าร่วมโครงการได้เช่นกัน แต่จะเสียเปรียบในหมวด Mobility
4. โครงการเมืองอุตสาหกรรมการบริการสามารถเข้าเกณฑ์ได้หรือไม่?
สามารถเข้าร่วมโครงการได้ เช่น เมืองท่องเที่ยว, medical hub, rehabilitation center
5. จำนวนประชากรนับอย่างไร?
นับจากผู้อยู่อาศัย (resident) พักอาศัย (guest) ผู้ป่วยใน (inpatient) หรือคนทำงาน (worker) ส่วนผู้เยี่ยมเยือน (visitor) หรือผู้เดินทางผ่าน (transit) หรือในกรณีผู้ป่วยนอกในสถานพยาบาล(outpatient) หรือลูกค้า (shopper) ให้นับจำนวนประชากรได้โดยมีตัวคูณลด (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือเกณฑ์การประเมิน)
6. ข้อกำหนดคุณสมบัติ 3-8 MW หมายถึงอะไร?
หมายถึงประมาณการใช้พลังงานในสภาพปกติ (BAU-business as usual) (ดูรายละเอียดวิธีการคำนวณเพิ่มเติมในคู่มือเกณฑ์การประเมิน)
7. ข้อกำหนดคุณสมบัติพื้นที่ใช้สอย 100,000-500,000 ตารางเมตรหมายถึงอะไร?
หมายถึงพื้นที่ประโยชน์ใช้สอยของอาคาร
8. ข้อกำหนดคุณสมบัติว่าจะต้องสามารถลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้ 10,000 ตันต่อปี แสดงด้วยอะไร?
แสดงด้วยรายการคำนวณ carbon reduction calculation (ดูรายละเอียดวิธีการคำนวณเพิ่มเติมในคู่มือเกณฑ์การประเมิน)
9. การคำนวณ carbon reduction รวมการดูดซับคาร์บอนจากพืชได้หรือไม่?
ได้ เช่น การดูดซับคาร์บอนจากต้นไม้
10. แบบประเมินแยกเฉพาะตามประเภทโครงการหรือไม่?
แบบประเมินตามเกณฑ์มีเพียงแบบเดียว
11. การพิสูจน์ผลลัพธ์ เช่น ผลการประหยัด ทำอย่างไร?
แสดงด้วยรายการคำนวณที่เป็นที่มีข้อมูลที่อ้างอิงได้
12. สามารถเสนอมาตรการนอกเหนือจากที่แนะนำในเอกสารเกณฑ์การประเมินได้หรือไม่?
ได้ ในหมวดที่ ๘ นวัตกรรม หากมีการแสดงนวัตกรรมใน ๗ หมวดแรกแล้ว การทำคะแนนในหมวดที่ ๘ จะใช้คะแนนที่เกินคะแนนสูงสุดในหมวดนั้น เช่น พลังงานทดแทนในสัดส่วนที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ จึงนำส่วนที่เกินมาใช้ในหมวดที่ ๘ หรือเป็นนวัตกรรมอื่นๆที่ไม่ได้ระบุไว้ในหมวดใดๆจึงจะนำมาใช้ทำคะแนนในหมวดที่ ๘ ได้

13. สวนหลังคานับเป็นพื้นที่สีเขียวได้หรือไม่?
ได้ ขอให้ดูรายละเอียดในแบบประเมิน

14. สามารถลดจำนวนที่จอดรถลงจากเทศบัญญัติในปัจจุบันได้หรือไม่?
โครงการเมืองอัจฉริยะมีข้อกำหนดว่าการพัฒนาโครงการจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดทางด้านผังเมืองและเทศบัญญัติต่างๆ อย่างไรก็ตาม หากมีความประสงค์ที่จะนำเสนอจำนวนที่จอดรถที่ลดลง ให้แสดงรายการคำนวณจำนวนที่จอดรถที่เหมาะสมได้ตามหลักวิชาการ และออกแบบพื้นที่จอดรถให้สามารถปรับเป็นพื้นที่การใช้สอยได้ในอนาคต โดยอนุญาตให้ประเมินรายได้จากการปรับพื้นที่นี้ในหัวข้อเกณฑ์ประเมินทางเศรษฐศาสตร์ได้

15. จำเป็นต้องใช้วิธีก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำคอนกรีตเพื่อลด run off หรือไม่?
โครงการเมืองอัจฉริยะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการนำเสนอแนวคิดใหม่และนวัตกรรม จึงสามารถนำเสนอวิธีการลด run off อื่นๆ นอกเหนือจากการสร้างบ่อหน่วงน้ำคอนกรีตได้

16. การประเมินให้คะแนนสำหรับการสร้างอัตลักษณ์ของโครงการหรือไม่?
เห็นด้วยกับการที่จะให้คะแนนในเรื่องนี้

17. การประเมินให้คะแนนทางด้านสังคมหรือไม่?
เห็นด้วยกับการที่จะให้คะแนนในเรื่องนี้

18. การประเมินให้คะแนนทางด้าน 4G platform หรือไม่?
เห็นด้วยกับการที่จะให้คะแนนในเรื่องนี้

19. หมู่บ้านจัดสรรขนาด 400 หลังคาเรือน หรือเนื้อที่ดิน 400 ไร่ จะผ่านคุณสมบัติตามที่กำหนดหรือไม่?
หมู่บ้านจัดสรรขนาดนี้ ควรจะมีจำนวนประชากร หรือขนาดพื้นที่ใช้สอย หรือ การใช้กำลังไฟฟ้าเกินกว่าคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จึงควรที่จะเข้าร่วมโครงการได้

20. สามารถนับจำนวนผู้โดยสารในระบบขนส่งมวลชน (transit/ridership) เป็นจำนวนประชากรด้วยได้หรือไม่?
ได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือเกณฑ์การประเมิน)

21. สามารถนับจำนวนผู้ใช้บริการศูนย์การค้า เป็นจำนวนประชากรด้วยได้หรือไม่?
ได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือเกณฑ์การประเมิน)

22. สามารถนำเมืองบริวารมารวมได้หรือไม่?
ได้ แต่ในการประเมินจะใช้ baseline ที่คิดจากพื้นที่เมือง เมืองบริวาร และพื้นที่ต่อเชื่อมร่วมกัน

23. โครงการที่ได้เป็นสุดยอดเมืองอัจฉริยะ จะมีโอกาสได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีโรงเรือนอันเนื่องมาจากการระบายน้ำจากระบบบำบัดน้ำเสียหรือไม่?
จะได้นำเสนอให้รัฐบาลพิจารณาต่อไป

24. ผู้ที่เสนอตัวเพื่อเข้าร่วมโครงการคือใคร?
นิติบุคคลที่เป็นตัวแทนของกลุ่มที่เสนอตัวเข้าร่วมโครงการ ที่อาจประกอบด้วยผู้ลงทุน ผู้ออกแบบ ผู้ให้ทุน ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้รับทุนสนับสนุนฯ ในกรณีของเขตพญาไท บริษัท พาไท วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด สามารถเข้าร่วมโครงการได้ โดยมีบันทึกความตกลงในการพัฒนาร่วมกับเขตพญาไท เป็นต้น

25. ขอเสนอให้เพิ่มน้ำหนักสำหรับนวัตกรรม?
เห็นด้วยกับการที่จะให้คะแนนโบนัสในเรื่องนี้ โดยได้เพิ่มหมวดที่ ๘ นวัตกรรมแล้ว

26. ทางโครงการจะให้สิทธิพิเศษด้านกฎหมาย เช่น ผังเมือง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับทางสาธารณะ ลำลางสาธารณะเดิมได้หรือไม่?
โครงการไม่มีอำนาจในการให้สิทธิพิเศษเหล่านี้

27. การคำนวณปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการพัฒนาอ้างอิงจากเกณฑ์อะไร?
(ดูรายละเอียดวิธีการคำนวณเพิ่มเติมในคู่มือเกณฑ์การประเมิน)

28. เงินสนับสนุนนี้ สนับสนุนการลงทุนด้วยหรือไม่?
เงินรางวัลสนับสนุนในโครงการนี้เป็นการสนับสนุนการศึกษาออกแบบ ไม่ใช่เงินสนับสนุนการลงทุน

29. ผู้เข้าร่วมโครงการต้องนำเสนอแนวคิดครบตามเกณฑ์ทั้ง 7 หมวดหรือไม่?
มีหมวดที่บังคับที่ต้องเสนอ ๔ หมวดเท่านั้น คือ พลังงาน การสัญจร อาคาร และเศรษฐศาสตร์

30. อาคารที่อยู่ในโครงการเมืองอัจฉริยะจะต้องผ่านเกณฑ์อาคารเขียว (TREES) ใช่หรือไม่ และจะดำเนินการอย่างไร สำหรับอาคารเดิม?
อาคารในโครงการเมืองอัจฉริยะต้องกำหนดหลักเกณฑ์ออกแบบ (design criteria) ที่สอดคล้องกับเกณฑ์อาคารเขียว (TREES) โดยผู้เข้าร่วมโครงการสามารถใช้เกณฑ์ประเมินอาคารเขียวของสถาบันอาคารเขียวไทย สำหรับอาคารใหม่ (NC) และอาคารเดิม (EB)

31. ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นสุดยอดเมืองอัจฉริยะจะได้รับสิทธิพิเศษอื่นๆนอกเหนือจากเงินรางวัลสนับสนุนหรือไม่?
มีดำริที่จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องสิทธิประโยชน์ต่างๆ แต่ยังไม่สามารถแจ้งได้ในขณะนี้

32. สามารถนับจำนวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนประชากรด้วยได้หรือไม่?
ได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือเกณฑ์การประเมิน)

33. ในกรณีที่มีการศึกษาการวางผังรอบนอกโครงการที่สัมพันธ์กัน จำเป็นที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพื้นที่รอบโครงการหรือไม่?
ไม่จำเป็น เพราะเป็นเพียงการนำเสนอแนวคิดที่จะเป็นประโยชน์โดยรวม

34. สามารถนำเสนอเทคโนโลยีสำหรับอนาคตได้หรือไม่?
ได้ เพราะโครงการนี้รับแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

35. การคำนวณการใช้กำลังไฟฟ้าสำหรับโรงงาน แตกต่างจากอาคารทั่วไป?
ถูกต้อง ในกรณีของโรงงานอุตสาหกรรม ไม่นำกำลังไฟฟ้าสำหรับเครื่องจักรในขบวนการผลิตมาใช้ในการคำนวณการใช้กำลังไฟฟ้า

36. การคำนวณสัดส่วนการผลิตกำลังไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนคำนวณอย่างไร?คำนวณสัดส่วนจากความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนกับค่าเฉลี่ยการใช้กำลังไฟฟ้า (average energy consumption)

37. หมวดที่ 6 อาคารอัจฉริยะ ในข้อ 1.1 บังคับ (ตามเอกสารแนบที่วงแดงค่ะ) หมายความว่าเมืองที่เลือกทำนั้น ถึงแม้เราจะเลือกเมืองขนาดเล็ก ต้องมีอาคารภายในเมืองที่มีพื้นที่ใช้สอย มากกว่า 10,000 ตร.ม. สูงมากกว่า 23 ม. ซึ่งหมายถึงอาคารสูงและขนาดใหญ่พิเศษ ตามกฎกระทรวง ฉ.33 ไม่มีอาคารดังกล่าวไม่ได้ ใช่หรือไม่ค่ะ
ถ้าเป็นเมืองที่เสนอ ไม่จำเป็นต้องมีอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยมากกว่า 10,000 ตร.ม หรือ สูงมากกว่า 23 ม. ถือว่าผ่านข้อบังคับครับ

38. กรณีถ้ามีอาคารสูง หรือใหญ่พิเศษแล้ว แต่ไม่ได้สร้างใหม่ เราก็ใช้เกณฑ์อาคารเขียว TREE EB ใช่หรือไม่ค่ะ
ข้อบังคับ ใช้เฉพาะ อาคารที่สร้างใหม่ครับ ไม่นับรวมถือ อาคารเก่าที่เปิดใช้งานแล้วครับ เฉพาะกรณีต้องการทำคะแนน จะนับรวมอาคารเก่าได้ โดยใช้เกณฑ์ อาคารเขียว TREES EB ครับ

39. โครงการที่มีลักษณะเป็นชุมชนเมืองกำลังจัดทำผังเมืองใหม่ สามารถเข้าร่วมโครงการเมืองอัจฉริยะได้หรือไม่?
ชุมชนเมืองที่กำลังจัดทำผังเมืองใหม่ ให้มีบันทึกความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบการเสนอแนวคิดด้วย จึงจะรับพิจารณาได้

40. จากข้อ 39 เนื่องจากต้องกรอกข้อมูลการใช้พลังงานในสภาพปกติ ตามรายการคำนวณ BAU มีความยุ่งยากในการหาพื้นที่ โรงงาน ประเภทอาคารต่างๆ ดังนั้นหากจะใช้พื้นที่วางผังสีที่กำหนดความหนาแน่นประชากรต่อพื้นที่มาคำนวณเป็นพื้นที่ อาคารทำได้หรือไม่ ? ตัวอย่างเช่น ผังเมืองใหม่มีการจัดพื้นที่ในกลุ่มพักอาศัยไว้ 5 ตารางกิโลเมตร (ซึ่งในผังระบุมีความหนาแน่นปานกลาง 100 คนต่อตารางกิโลเมตร) ดังนั้นจะมีประชากรเท่ากับ 500 คน โดยประชากร 1 คนมีพื้นที่ใช้สอยอาคาร (มีวิธีคำนวนที่อ้างอิงได้) สมมุติว่า 15 ตารางเมตรต่อประชากรหนึ่งคน ดังนั้นเท่ากับพื้นที่อาคารพักอาศัย จะมีพื้นที่รวม 7500 ตารางเมตร เป็นต้น (แสดงด้วยรายการคำนวณที่เป็นที่มีข้อมูลที่อ้างอิงได้)
หากมีรายการคำนวณที่มีข้อมูลที่อ้างอิงได้ สามารถพิจารณาได้

41. ในพื้นที่ที่ติดกับขอบเขตของพื้นที่โครงการฯ (ไม่ได้อยู่บนพื้นที่โครงการแต่อยู่ในเขตเทศบาลติดกัน) มีโซล่าร์ฟาร์มที่จ่ายไฟเข้ากริดตั้งอยู่แล้ว จะใช้โซล่าร์ฟาร์มมาคิดคะแนนได้หรือไม่ หรือจะต้องออกแบบโรงไฟฟ้าบนพื้นที่โครงการเอง ทั้งนี้จะต้องใช้เอกสารประกอบ เช่น การตรวจสอบ feeder หรือไม่
ไม่สามารถนำโซล่าฟาร์มที่อยู่ในพื้นที่ติดกันและจ่ายไฟฟ้าเข้ากริดมาคิดคะแนนได้ครับ ต้องออกแบบระบบโรงไฟพ้าพลังงานทดแทนบนพื้นที่ของโครงการ

42. เอกสารสิทธิที่ทางทีมงานจะต้องแนบการสมัคร หมายถึงเอกสารสิทธิประเภทใด รบกวนอธิบายเพิ่มเติมค่ะ ทางทีมงานใช้พื้นที่เขตอำเภอเมืองอ่างทอง ในการออกแบบค่ะ
หมายถึง เอกสารที่แสดงสิทธิของผุ้เสนอโครงการฯ ในการใช้ที่ดินในโครงการฯ เพื่อพัฒนาเมืองตามรูปแบบที่นำเสนอ

43. อาคารเขียวที่เข้าเกณฑ์ TREES หากจะนำไปวางแทนอาคารที่มีอยู่แล้ว จะเป็นประเภท NC ได้ หรือ Core&Shell เท่านั้น
อาคารเขียวที่เข้าเกณฑ์ TREES แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้ 1) กรณีอาคารสร้างใหม่ หรือ อาคารเก่าแต่ปรับปรุงใหม่ทั้งหมด (Major Renovation) ประกอบด้วย TREES-New Construction (NC), TREES-Core&Shell (CS) - 2) กรณีที่อยู่ระหว่างการใช้งาน จะเป็น TREES-Existing Building (EB)

44. ในหัวข้อ 2.1 การผลิตพลังงานหมุนเวียน ในประเด็น “ผลิตพลังงานหมุนเวียนให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ใช้ของเมือง” ที่ใน FAQ แจ้งว่าต้อง “คำนวณสัดส่วนจากความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนกับค่าเฉลี่ยการใช้กำลังไฟฟ้า (average energy consumption)” ผมเข้าใจว่าใช้การคำนวณหาค่าเฉลี่ยของ kW แล้วนำมาเปรียบเทียบกับขนาดกำลังไฟฟ้า kW ติดตั้งที่ผลิตได้จากพลังงานทดแทนใช่ไหมครับ ไม่ใช่ตัว kWh เนื่องจากถ้าเป็น kWh จะเป็นเรื่องที่ยากมากๆสำหรับระบบ Solar Rooftop หรือแม้แต่ Solar Farm ที่จะผลิตได้ในสัดส่วนนั้นเนื่องจากมีช่วงเวลาที่ผลิตพลังงานได้เพียง 5 ชั่วโมงต่อวัน
เป็นค่าเฉลี่ยของ kW โดยในหลักเกณฑ์ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมไว้ในหมวด SMART Energy หน้า 5/15 ให้ใช้ค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าเฉลี่ยของเมืองเป็นฐานในการคำนวณสัดส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียน

45. ในเอกสารเกณฑ์การประเมินมีการระบุถึงรายการคำนวณและแบบต่างๆที่ต้องมีการส่งประกอบ เช่น
  • แสดงรายการคํานวณปริมาณพลังงานและก๊าซเรือนกระจกที่จะลดได้ โดยแบ่งออกเป็นมาตรการอนุรักษ์พลังงานหรือ มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในด้านต่างๆ โดยเปรียบเทียบปริมาณการใช้พลังงานและปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการ ออกแบบเมืองอัจฉริยะเทียบกับเมืองทั่วไปตามปกติ (Business As Usual, BAU)
  • ออกแบบและกําหนดขนาดการทําความเย็นและความร้อนที่ต้องการของสถานประกอบการ บ้านเรือน หรือ อาคาร ประเภทต่างๆ
  • ประมาณการตําแหน่งและจํานวนของมิเตอร์อัจฉริยะในแต่ละพื้นที่ และตัวอย่างโครงสร้างของ Mobile Application ผ่านระบบมือถือ Smart Phone ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลต่างๆ ได้แบบ On-line
  • จัดทําผังระบบโครงข่ายของระบบไมโครกริดที่มีส่วนประกอบหลักต่างๆ
  • ออกแบบระบบ DMS ที่สามารถบูรณาการเข้ากับระบบ Outage management system (OMS) และระบบ Supervisory control and data acquisition (SCADA) โดยมีฟังก์ชันการทํางานที่สําคัญดังหัวข้อต่อไปนี้…
รายการต่างๆเหล่านี้ซึ่งค่อนข้างจะต้องมีการลงรายละเอียดพอสมควร จะต้องจัดทำส่งตั้งแต่ในรอบแรก หรือเว้นไว้ส่งในรอบต่อไปครับ
ในขั้นตอนแรก ให้นำเสนอแนวคิดในการออกแบบสำหรับแต่ละรายการข้างต้น โดยอาจแสดงแผนผังแสดงแนวคิดพร้อมคำอธิบายเป็นหลัก สำหรับแบบรายละเอียดจะเป็นในขั้นตอนต่อไป
46. การให้คะแนนในหมวดเศรษฐกิจอัจฉริยะในระยะที่1 โดยในระยะที่ 1 นั้นจะต้องมีการนำเสนอการวิเคราะห์การลงทุนเบื้องต้น และการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจหรือไม่ เพราะถ้าอ้างอิงจากคู่มือการประกวดของหมวดเศรษฐกิจอัจฉริยะหน้า4 และ 5 ซึ่งในรายละเอียดได้ระบุว่าเนื้อหาทั้งสองด้านจะต้องมีการจัดทำให้ขั้นตอนต่อไป แต่ในเอกสารข้อเสนอแนวคิดการออกแบบหัวข้อเศรษฐกิจอัจฉริยะหน้า 5-1/2 ได้มีการระบุให้อธิบายเนื้อหาสองด้านนี้ คำถามคือในขั้นนี้ จะต้องมีการเขียนอธิบายเกี่ยวกับการวิเคราะห์การลงทุนเบื้องต้นและการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจรึเปล่าคะ?
ในขั้นตอนที่ 1 ที่ต้องนำส่งภายในวันที่ 21 ธันวาคม 2559 ให้นำเสนอเฉพาะการกำหนดแนวคิด ตามรายละเอียดในหลักเกณฑ์การประเมินฯ หมวด SMART Economy หน้า 3-4  สำหรับ การวิเคราะห์การลงทุนเบื้องต้น เป็นขั้นตอนต่อไปภายหลังได้รับการคัดเลือกในขั้นตอนที่ 1