เกณฑ์ประเมิน Smart City มีอะไรบ้าง?

เกณฑ์ประเมิน Smart City มีอะไรบ้าง?


คำว่า Smart City ที่เกี่ยวกับการออกแบบเมืองให้สอดคล้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการลดปัญหามลภาวะต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีอันชาญฉลาด สู่การเป็นเมืองอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพ สถาบันอาคารเขียวไทยได้จัดทำเกณฑ์ประเมิน Smart City มีทั้งหมด ๗ หมวดด้วยกัน ได้แก่

1. พลังงานอัจฉริยะ (smart energy)

ตัวชี้วัดพลังงานอัจฉริยะประกอบด้วยค่าพลังงานการใช้ต่อประชากร การผลิตพลังงานทดแทน การผลิตพลังงานณ จุดใช้งานการสะสมพลังงาน ระบบทำความเย็นและความร้อนรวมศูนย์ ระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ การส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้า

2. การสัญจรอัจฉริยะ (smart mobility)

ตัวชี้วัดประกอบด้วยการวางผังโครงสร้างพื้นฐานของระบบพลังงาน ระบบการจ่ายน้ำ ระบบการขนส่ง ระบบโดยสารสาธารณะ การบริหารที่จอดรถ การส่งเสริมการเดิน การใช้จักรยาน การจัดเตรียมสถานพยาบาล ระบบฉุกเฉิน ระบบความปลอดภัย สถานศึกษา สถานที่ท่องเที่ยว การบริหารจัดการขยะ น้ำเสีย

3. ชุมชนอัจฉริยะ (smart community)

ตัวชี้วัดประกอบด้วยการส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งในด้านความปลอดภัย สวัสดิภาพ สุขภาพ การศึกษา การป้องกันภัยพิบัติ การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ 

4. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (smart environment)

ตัวชี้วัดประกอบด้วยการรักษาสภาพแวดล้อม ป่าไม้ พืชพันธ์ ระบบนิเวศน์ การส่งเสริมการเกษตร แหล่งผลิตอาหารในเมือง สวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียว การบริหารจัดการน้ำ มลภาวะทางน้ำ มลภาวะทางอากาศ  ปรากฏการณ์เกาะความร้อน

5. เศรษฐกิจอัจฉริยะ (smart economy)

ตัวชี้วัดประกอบด้วยโมเดลทางธุรกิจ นวัตกรรมรูปแบบการลงทุน ความสร้างความสามารถในการแข่งขัน การมีส่วนร่วม ความเป็นหุ้นส่วน การบริหารรายได้ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเมืองที่ยั่งยืน การส่งเสริมการเจริญเติบโตของเขต

6. อาคารอัจฉริยะ (smart building)

ตัวชี้วัดประกอบด้วยการผ่านเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของสถาบันอาคารเขียวไทย การพัฒนาอาคารที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ ระบบอาคาร/ บ้านอัจฉริยะ

7. การปกครองอัจฉริยะ (smart governance)

ตัวชี้วัดประกอบด้วยหลักความเป็นเมืองอัจฉริยะ ภาวะความเป็นผู้นำ ยุทธศาสตร์ โครงสร้างองค์กร กระบวนการบริหารจัดการ ระบบการวัดผลสำเร็จ

10 เมืองสุดยอด SMART CITY ในโลก

10 เมืองสุดยอด SMART CITY ในโลก


Smart City ระบบเมืองอัจฉริยะ ที่เชื่อมต่อเทคโนโลยีหลายด้านเข้าไว้ด้วยกัน รวมถึงการวางผังเมืองที่ฉลาด รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย ซึ่งมีอยู่หลายประเทศด้วยกันที่จัดเป็น Smart City ที่มีคุณภาพ วันนี้เราก็มี 10 เมืองมาฝากกับสุดยอด Smart City ในโลก 

10 บาร์เซโลนา ประเทศสเปน

ประเดิมด้วยอันดับที่ 10 ของโลกของการเป็นเมือง Smart City นั่นก็คือเมืองบาร์เวลโลนา ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศสเปน มีการบูรณาการวางผังเมือง นิเวศวิทยา และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและเชื่อมต่อประชาชนเมืองได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งยังเป็นเมืองแรกของโลกที่ออกกฎหมายมาสนับสนุนการใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์  ได้แก่ Solar Thermal Ordinance มาเป็นเวลานับทศวรรษ 

9 ฮ่องกง ประเทศจีน

ฮ่องกงเป็นอีกหนึ่งเมือง Smart City ที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันฮ่องกงมีการใช้เทคโนโลยี RFID (Radio-frequency Identification) คือ การเก็บข้อมูลหรือระบุข้อมูลแบบอัตโนมัติ รับสัญญาณจากแท็กเข้าสู่ตัวสัญญาณผ่านคลื่นวิทยุขนาดเล็ก โดยสามารถบันทึกข้อมูลในแท็กมาใช้ในสนามบิน นอกจากนี้ยังกำหนดให้ประชาชนใช้ สมาร์ทการ์ด ในการชำระค่าบริการขนส่งสาธารณะ การผ่านเข้าออกสถานที่ต่าง ๆ และลานจอดรถ

8 โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก

เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก ที่ถือเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในแถบสแกนดิเนเวีย เมืองนี้ประชาชนส่วนใหญ่ใช้จักรยานกันอย่างแพร่หลาย เป็นสิ่งที่ทั่วโลกยอมรับ มีเครือข่ายแลกเปลี่ยนจักรยาน ทั้งยังเป็นผู้นำในการพัฒนาและใช้นวัตกรรมสีเขียว มีการใช้ระบบอัจฉริยะในการควบคุมไฟบนท้องถนน ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในที่สาธารณะ เป็นต้น โคเปนเฮเกนยังได้ทำพันธะสัญญาที่จะสร้างแนวคิด คาร์บอนสมดุล คือ ภาวะที่ผลลัพธ์ของการกระทำโดยรวมไม่ก่อให้เกิดคาร์บอนสุทธิ (Net Carbon) ขึ้นในชั้นบรรยากาศ และรณรงค์ให้ประชากรใช้จักรยานในการเดินทางร้อยละ 40 ภายใน พ.ศ. 2568

7 เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี 

กรุงเบอร์ลินเป็นเมืองที่มีการใช้นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยเฉพาะการทดลองรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยการวางเครือข่ายสถานีเติมไฟ หรือ V2G (Vehicle-to-Grid) ในเมือง เป็นการสนับสนุนให้ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

6 โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

เมืองแห่งโลกดิจิทัลและนวัตกรรมต่างๆ และเมื่อไม่นานมานี้ยังได้สร้าง เมืองอัจฉริยะ ขึ้นบริเวณชานเมืองที่ประกอบไปด้วยบ้านที่มีแผงโซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่ และพลังงานที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) นอกจากนี้ บริษัทผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่นอย่าง นิสสัน ยังเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าตัวแรก คือ นิสสัน ลีฟ (NISSAN LEAF) ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาด้านพลังงานและลดมลพิษในอากาศอีกด้วย

5 ลอนดอน สหราชอาณาจักร

เมืองที่มีนวัตกรรมสีเขียวมากมาย มีการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนนในเขตจราจรหนาแน่น อย่างในใจกลางกรุงลอนดอน ในเวลา 07.00 น.-18.00 น. วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการ วันปีใหม่ และวันคริสต์มาส เพื่อลดการจราจรในเมือง และเป็นการส่งเสริมการขนส่งสาธารณะในเมือง นอกจากนี้ยังมีแนวคิดในการสร้าง/ปรับปรุงบ้านเพื่อเข้าสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ

4 นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

เมืองที่กำลังเตรียมก้าวเข้าสู่ศูนย์กลางเทคโนโลยี โดยเฉพาะทางด้านการสื่อสาร ซึ่งในปัจจุบันได้มีการสร้างรูปแบบให้ประชาชนในเมืองมีส่วนร่วม (Interactive Platform) โดยการติดตั้งหน้าจอแสดงข้อมูลข่าวสารในที่ต่าง ๆ แทนที่ตู้โทรศัพท์สาธารณะเก่าที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ทั้งยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เมืองมีความปลอดภัยและมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เครื่องมืออัจฉริยะ ระบบเซ็นเซอร์ ซอฟต์แวร์ ที่สามารถเฝ้าติดตามและพัฒนาการจราจร และปกป้องโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

3 ปารีส ประเทศฝรั่งเศส 

อีกหนึ่งเมืองที่อัจฉริยะอย่างโดดเด่น พร้อมทั้งด้านนวัตกรรม และการบริหารจัดการด้วยระบบดิจิทัล อีกทั้งยังเป็นเมืองที่ประสบความสำเร็จเรื่องจักรยานสาธารณะ หรือ Velib และยังมีการเปิดตัวรถไฟฟ้าสาธารณะขนาดเล็ก (EVs) หรือ Autolib เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในเมืองอีกด้วย

2 โทรอนโต ประเทศแคนาดา

เมืองโทรอนโต เป็นสมาชิกของกลุ่ม C40 (Clinton 40)  ซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำการรณรงค์ด้านสภาวะอากาศในเมืองใหญ่ 40 เมืองทั่วโลก เพื่อหาแนวทางการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หน่วยงานภาคเอกชนในเมืองโทรอนโซยังร่วมในการาสร้าง Smart Commute Toronto เพื่อช่วยกันลดปัญหาการจราจรและมลพิษในเมือง โดยการสนับสนุนให้ใช้จักรยานและอำนวยความสะดวกข้อมูล เช่น เครือข่ายผู้ใช้รถจักรยาน การซ่อมบำรุงและพื้นที่การจอด นอกจากนี้ เมืองโทรอนโตยังมีการใช้ก๊าซธรรมชาติจากหลุมฝังกลบมาเป็นพลังงานให้กับรถบรรทุกขยะในเมือง 

1 เวียนนา ประเทศออสเตรเลีย

ปิดท้ายด้วย Smart City ที่ดีที่สุดในโลกอย่างเวียนนา เมืองที่อุดมไปด้วยนวัตกรรม มีเขตเมืองสีเขียวถูกตั้งเป้าหมายให้ได้มากที่สุด มีการใช้พลังงานทดแทนถึง 14% มีโรงงานผลิตพลังงานชีวภาพใหญ่ที่สุดในยุโรป และมีเป้าหมายที่จะติดตั้ง แผงผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Panels) ให้ได้ 300,000 ตารางเมตรในปี 2020 และมีการบริหารจัดการแบบดิจิทัล นอกจากนี้ ยังได้วางวิสัยทัศน์และโครงการต่าง ๆ มากมาย เพื่อก้าวสู่การเป็น Smart City เต็มรูปแบบ ทั้งการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ การขนส่ง และการวางแผนการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน

อาคารเขียว คืออะไร?

อาคารเขียว คืออะไร?

อาคารเขียว คือ อาคารที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง การใช้น้ำ และการใช้พลังงาน ในขณะเดียวกับก็ลดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้อาคารและสิ่งแวดล้อมตลอดอายุอาคาร ซึ่งทำได้โดยการเลือกที่ตั้งอาคาร การวางผังอาคาร การออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ การบริหารจัดการในระหว่างก่อสร้าง ใช้งาน และบำรุงรักษา ที่ดีกว่าอาคารโดยทั่วไป

Smart City คืออะไร?

Smart City คืออะไร?

Smart City คือ เมืองที่ได้รับการออกแบบ โดยให้ความสำคัญในสามองค์ประกอบหลัก คือ 
  1. การพัฒนารูปแบบและโครงสร้างของเมืองที่สอดรับกับแนวคิดของเมืองอัจฉริยะ
  2. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และ 3) การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ประกอบกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และข้อมูลมาช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรของเมืองเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ระบบบริหารจัดการเครือข่ายพลังงานอัจฉริยะ ที่เรียกว่า Smart Grid ระบบมิเตอร์อัตโนมัติ ระบบควบคุมการจราจรอัจฉริยะ ระบบควบคุมอาคารอัจฉริยะ และระบบตรวจวัดมลภาวะ